วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

ไฟล์ที่ควรรู้จัก ดังต่อไปนี้ (Laravel Framework)

ไฟล์ที่ควรรู้จัก ดังต่อไปนี้
  • app.php :: กำหนดภาษาหลัก, สร้างชื่อย่อ (aliases) ให้กับ namespace และกำหนด URL หลัก เช่น http://localhost
  • auth.php :: กำหนดการรับรองความถูกต้อง ชื่อ Model, Database Table เป็นต้น
  • cache.php :: กำหนดรูปแบบการ Cache สนับสนุน Memcached และ Redis
  • database.php :: การหนดการเชื่อมต่อฐานข้อมูล ประเภทต่าง ๆ เช่น sqlite, mysql, pgsql, sqlsrv เป็นต้น
  • mail.php :: กำหนดค่า SMTP, HOST, PORT, USERNAME, PASSWORD และอื่น ๆ ให้กับ Email
  • session.php :: กำหนดค่า SESSION ต่าง ๆ อาทิเช่น ตั้งเวลาการเก็บค่า Session รูปแบบการจัดเก็บค่า Session เป็นต้น
  • view.php :: กำหนด Path ให้กับไฟล์ View ของเว็บแอพฯ ของเรา
  • workbench.php :: กำหนดค่าอื่น ๆ เช่น ชื่อของเรา, อีเมล์ของเรา เป็นต้น

มันคืออะไร namespace

     มันคืออะไร namespace คือฟีเจอร์ใหม่ที่เพิ่งเพิ่มเข้ามาใน php 5.3 ซึ่งทำมาแก้ข้อห้ามของ php ที่ว่าด้วยการห้ามใช้ชื่อคลาสซ้ำกัน ในกรณีที่เรานำไลบรารี่ภายนอกมาใช้ และมีคลาสชื่อว่า User แล้วเอาไลบราลี่ตัวอื่นเข้ามาอีก แล้วมันก็มีคลาสชื่อ User อีกแน่นอนว่าเราจะนำเข้ามาใช้ร่วมกันภายในไฟล์เดียวกันไม่ได้ครับ ในการพัฒนาโปรเจคที่ระดับใหญ่มีโมดูลหลายพันตัว การหลีกเลี่ยง ที่จะให้ชื่อคลาสชนกันทำได้ยากมาก

เข้าใจเกี่ยวกับ Composer


      ก่อนที่เราจะเข้าใจเกี่ยวกับ Composer เราควรจะรู้จักเกี่ยวกับ Library คืออะไรกันก่อนซึ่งในคอมพิวเตอร์ไลบรารี เป็นชุดของอ๊อบเจคขนาดเล็ดที่ได้รับการจัดการเกี่ยวกับ source code ที่ใช้บ่อย 

      เรามาต่อ Composer คือระบบจัดการไลบราลี่ภายนอกของ php ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อนำแนวคิดมาจากระบบจัดการไลบราลี่ของ node.js,ruby ที่ต้องสร้างขึ้นเพราะ ของเดิมของ php คือ pear ไม่มีการพัฒนามากว่า 5 ปีเเล้ว และแนวคิดของ composer ต่างจาก pear ตรงที่ตัวไลบราลี่จะไม่ถูกติดตั้งในระดับที่สามารถถูกเรียกใช้จากที่ไหนก็ได้ แต่จะใช้โฟลเดอร์ vendor เป็นตัวหลักในการเก็บไลบราลี่ต่างๆ ตอนนี้ php framework หลายๆ ตัวเริ่มหันมาใช้ composer แล้วอย่างเช่น laravel 4 ,cakephp 3,kohan,CI,Zend เป็นต้น